สาระน่ารู้พื้นฐานเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์

ตู้คอนเทนเนอร์ คืออะไร 


ตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) คือ ตู้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับบรรจุสินค้านำเข้าและส่งออกทาง จะมีขนาดและประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับตัวสินค้าที่ต้องการบรรจุ ซึ่งจุดเด่นของการใช้ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า คือ สามารถบรรจุสินค้าได้ในปริมาณมากๆ มีความแข็งแรงคงทน สามารถวางตู้ซ้อนกันได้หลายชั้นๆ ทำให้ง่ายต่อการจัดระเบียงในการเคลื่อยย้าย และที่สำคัญตู้คอนเทนเนอร์จะช่วยป้องกันสินค้าที่อยู่ภายในตู้คอนเทนเนอร์จากความเสียหายระหว่างการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าได้เป็นอย่างดี

 

ตู้คอนเทนเนอร์ราคาถูก

 

 

ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ 


1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต หรือ ตู้สั้น
•    à¸‚นาดตู้ 20 ฟุต (กว้าง 2.44 x ยาว 6 x สูง 2.59 ม.)
•    à¸‚นาดภายในตู้ 20 ฟุต (กว้าง 2.35 x ยาว 5.86 x สูง 2.38 ม.)
•    à¸£à¸±à¸šà¸™à¹‰à¸³à¸«à¸™à¸±à¸à¹„ด้สูงสุด 21 ตัน
•    à¸šà¸£à¸£à¸ˆà¸¸à¸ªà¸´à¸™à¸„้าได้ 30 คิว Max Volume 33 CBM.
2. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต หรือ ตู้ยาว

•    à¸‚นาดตู้ 40 ฟุต (กว้าง 2.44 x ยาว 12.09 x สูง 2.6 ม.)
•    à¸‚นาดภายในตู้ 40 ฟุต (กว้าง 2.35 x ยาว 12.03 x สูง 2.38 ม.)
•    à¸šà¸£à¸£à¸ˆà¸¸à¸ªà¸´à¸™à¸„้าได้ 60 คิว Max Volume 67.50 CBM.
3. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไฮคิวบ์ 

•    à¸‚นาดตู้ 40 HQ  (กว้าง 2.44 x ยาว 12.03 x สูง 2.9 ม.)
•    à¸‚นาดภายในตู้ 40 HQ  (กว้าง 2.35 x ยาว 12.03 x สูง 2.70 ม.)
•    à¸šà¸£à¸£à¸ˆà¸¸à¸ªà¸´à¸™à¸„้าได้ 68 คิว Max Volume 76.20 CBM.

 

ตู้คอนเทนเนอร์ราคาถูก


 

 

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่


1. ตู้คอนเทนเนอร์แบบทั่วไป : Dry Container  
ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใช้ในการใส่สินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องมีการรักษาอุณหภูมิ ซึ่งแต่ละขนาดก็เหมาะกับการใส่สินค้าที่แตกต่างกัน เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ 20' เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่มีปริมาตรและน้ำหนักไม่มาก เช่น เสื้อผ้า อาหารแห้ง เป็นต้น ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ 40' , ตู้คอนเทนเนอร์ 40' HC เหมาะสำหรับสินค้าปริมาตรเยอะแต่น้ำหนักไม่มากเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ เป็นต้น
2.ตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ : Reefer Container

ตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็นและเครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งเหมาะกับสินค้าที่ต้องการการรักษาอุณหภูมิ ภายในตู้ เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ อุปกรณ์การแพทย์ สารเคมี หรือสินค้าที่ต้องการควบคุมความเย็น เป็นต้น
3. ตู้คอนเทนเนอร์ไม่มีหลังคา : Open Top Container 

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่มีความสูงเกิน 2.7 เมตร ที่ไม่สามารถนำผ่านประตูของตู้ได้ ส่วนใหญ่ ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top จะมีขนาด 40 ฟุต ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ เครื่องจักร ท่อ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
4. ตู้คอนเทนเนอร์พื้นราบ : Flat Rack Container 

ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง โดยขนาดของตู้มีความกว้างและยาว ส่วนของฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าขนาดใหญ่ โดยขนาดของตู้คอนเทนเนอร์มีทั้งขนาด 20' และ 40' สินค้าที่เหมาะกับตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack ได้แก่ เครื่องจักร รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ งานประติมากรรม เป็นต้น
5. ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว : ISO Tank Container 

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุของเหลวโดยเฉพาะ โดยมีโครงสร้างหลัก คือ พื้นตู้กับเสาจะยึดทั้ง 4 มุม บนพื้นจะติดตั้งแท่งเหล็กกลมยาวไว้อย่างถาวร ซึ่งทำให้สามารถวางซ้อนได้และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับสินค้าประเภทของเหลว เช่น เครื่องดื่ม อาหาร น้ำมัน เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
6. ตู้คอนเทนเนอร์แบบระบายอากาศ : Ventilated Container 

ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับตู้ห้องเย็น โดยจะติดพัดลมดูดอากาศไว้ในตู้ และพัดลมจะทำหน้าที่ดูดก๊าซเอทิลีนที่ระเหยออกจากตัวสินค้าออกนอกตู้ เพื่อชะลออายุของสินค้า นิยมใช้สินค้าทางการเกษตร เช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ ผลไม้บางชนิด เป็นต้น

 

จำหน่ายและให้เช่าตู้คอนเทนเนอร์ทุกชนิด


          à¸šà¸£à¸´à¸©à¸±à¸— ราชาคอนเทนเนอร์ จำกัด เป็นศูนย์รวมตู้คอนเทนเนอร์ทุกชนิด ย่านลาดกระบัง เช่น ตู้คอนเทนเนอร์เก็บสินค้า ตู้สำนักงานเคลื่อนที่ ตู้คอนเทนเนอร์มือหนึ่ง ตู้คอนเทนเนอร์มือสอง à¸•à¸¹à¹‰à¸„อนเทนเนอร์สำนักงาน บริการให้เช่าตู้คอนเทนเนอร์ เช่าโกดังเก็บสินค้า เป็นต้น โดยตู้คอนเทนเนอร์ที่นำมาขายหรือให้เช่านั้นทางบริษัทจะมีการตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนที่จะส่งต่อไปยังมือของลูกค้า ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายธุรกิจตามความต้องการของลูกค้า เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โกดังเก็บสินค้า ออฟฟิศทำงาน เป็นต้น
------------------------------------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมถึงนิยมใช้ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าเพื่อทำการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า
บริการให้เช่าโกดังเก็บสินค้าอย่างปลอดภัย โดยบริษัท ราชาคอนเทนเนอร์ จำกัด
ไอเดียดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์สู่พื้นที่ในการทำธุรกิจ

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก

หัวพ่นไฟอุตสาหกรรมเเบบใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร

หัวพ่นไฟอุตสาหกรรม ประเภทใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง (Oil Burner) ค่อนข้างนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมรองจากหัวพ่นไฟแบบใช้แก๊ซ เพราะเชื้อเพลิงที่ใช้มีราคาถูก เช่น น้ำมันเตา ดีเซล ซึ่งให้พลังงานความร้อนสูงมาก หัวพ่นไฟอุตสาหกรรมประเภทนี้ มักใช้ในโรงงานที่ไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งจ่ายก๊าซเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย โดยความร้อนที่ได้จะถูกนำไปใช้งานในเตาเผาขยะ หม้อน้ำอุตสาหกรรม บอยเลอร์ (Boiler) เตาหลอมโลหะ ห้องอบสีอุตสาหกรรม หรือตู้อบเหล็ก เป็นต้นหัวพ่นไฟอุตสาหกรรม

 

 à¸«à¸±à¸§à¸žà¹ˆà¸™à¹„ฟอุตสาหกรรม


หัวพ่นไฟน้ำมันและแก๊ส

 

หัวพ่นไฟน้ำมันและแก๊ส

 

 

ข้อดีและข้อเสียของหัวพ่นไฟอุตสาหกรรม แบบใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

 

ข้อดี


-ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า หัวพ่นไฟแบบใช้แก๊ส

-เชื้อเพลิงหาใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เข่น น้ำมันเตา ดีเซล

-ให้พลังงานความร้อนสูง

 

ข้อเสีย


-การใช้งานหัวเผาน้ำมันค่อนข้างซับซ้อน

-ต้องควบคุมอุณหภูมิน้ำมันไม่ให้ต่ำหรือสูงไป และต้องมีความหนืดที่เหมาะสม

-ต้องควบคุมเชื้อเพลิงให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อการเผาไหม้ที่สะอาดและรวดเร็ว

 

การเผาไหม้น้ำมันของหัวพ่นไฟอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงควรอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้การเผาไหม้สะอาดและรวดเร็ว ทำให้จำเป็นต้องพ่นน้ำมันให้เป็นฝอยละอองละเอียด เพราะหากอยู่ในสภาพของของเหลวจะไม่เกิดการติดไฟ ซึ่งน้ำมันควรอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและมีความหนืดที่ถูกต้อง ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปน้ำมันก็จะหยดใหญ่ การเผาไหม้ก็จะไม่ดีทำให้ก่อให้เกิดควันและเขม่า แต่ในอีกกรณีที่อุณหภูมิสูงเกินไป  à¸«à¸¢à¸”น้ำมันก็จะมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะเผาไหม้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากรณีไหนจะเกิดขึ้น เชื้อเพลิงก็จะถูกใช้ไปอย่างเต็มที่  และพื้นผิวถ่ายเทความร้อนก็จะเสื่อมสภาพลง

ด้วยสภาวะการทำงานที่กล่าวไปข้างต้น หัวพ่นไฟอุตสาหกรรมประเภทนี้ จึงแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามหลักการฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยละเอียด ดังต่อไปนี้

 


  1. หัวพ่นไฟอุตสาหกรรม
  2. หัวพ่นไฟแบบใช้ความดันน้ำมัน (Pressure Jet or Pressure Atomizing Burner)

  3. หัวพ่นไฟแบบเป่าด้วยอากาศหรือไอน้ำ (The Air or Steam Blast Type)

  4. หัวพ่นไฟแบบใช้ถ้วยหมุน (Rotary Cup Burner )

  5.  

 

บริษัท บุญเยี่ยมและสหาย จำกัด "ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอุตสาหกรรมบอยเลอร์" และเบิร์นเนอร์อุตสาหกรรม

ตัวแทนจำหน่ายหัวพ่นไฟยี่ห้อ Oilon สำหรับอุตสาหกรรมเตาหลอม เตาอบ และเครื่องกำเนิดไอน้ำ, บอยเลอร์, หัวพ่นไฟแบบ "AIR ATOMIZE", หัวพ่นไฟน้ำมันและแก๊ส ยี่ห้อ "MAXON", หัวพ่นไฟ "Low-Nox" มาตรฐานสูง, หัวพ่นไฟอุตสาหกรรม, หัวพ่นไฟน้ำมันและแก๊ส OILON

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
boonyium.brandexdirectory.com
www.boonyium.com
บอยเลอร์.net

 

------------------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาทำความรู้จักกับหัวพ่นไฟอุตสาหกรรม

การบำรุงรักษาหัวพ่นไฟอุตสาหกรรม

สิ่งสำคัญในการเลือกใช้งานบอยเลอร์เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15